» สืบค้นเอกสารทั่วไป
» ผลการสืบค้นเอกสาร
ค้นพบ 1 รายการ จำนวน 1 หน้า | ||
ชื่อเรื่อง : | การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์แบบจําลองสมการโครงสร้างในงานวิจยัเชิงทดลอง [22] | |
บทคัดย่อ : | การวิเคราะห์แบบจําลองสมการโครงสร้างเป็นเทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติที่สามารถผนวกแบบจําลอง การวัดตัวแปรทางทฤษฎีและแบบจําลองโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทางทฤษฎีไว้ในแบบจําลองเดียวกัน ทําให้การวิเคราะห์นี้มีอํานาจการทดสอบที่สูงกว่าในการศึกษาความสัมพันธ์ของตัวแปรและให้ค่าประมาณประชากร ได้เที่ยงตรงมากกว่าเพราะมีการปรับแก้ด้วยความคลาดเคลื่อนในการวัด การนํามาประยุกต์ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ในงานวิจัยเชิงทดลองจะช่วยเพิ่มความเที่ยงตรงภายในและความเที่ยงตรงในการสรุปผลมากขึ้น บทความนี้ จะอธิบายถึงข้อดีของการวิเคราะห์นี้ที่เหนือกว่าสถิติวิเคราะห์หลายตัวแปรแบบด้ังเดิม ทั้งความสามารถศึกษา โครงสร้างความสมัพันธ์ของตัวแปรหลายตัวได้พร้อมกัน อํานาจทดสอบทางสถิติที่เหนือกว่า รวมไปถึงความก้าวหน้า ความยืดหยุ่น และความหลากหลายในการแก้ปัญหาการละเมิดข้อตกลงเบื้องต้นของสถิติท่ัวไป การกําหนด แบบจําลองสามารถทําได้ 2 แบบ คือ การกําหนดแบบจําลองให้ตัวแปรแฝงมีตัวแปรสาเหตุและตัวชี้วัดหลายตัว (MIMIC) และการกําหนดให้แบบจําลองมีโครงสร้างค่าเฉลี่ยของตัวแปร (SMM) ทั้งสองแบบล้วนมีข้อดี และข้อเสีย ที่แตกต่างกัน การเลือกใช้จึงขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ของงานวิจัย รวมทั้งความสามารถในการ วิเคราะห์และอ่านแปลผลของผู้วิจัย เพื่อให้เห็นภาพในเชิงเปรียบเทียบที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมในเชิงปฏิบัติ ในบทความนี้ได้ยกกรณีตัวอย่างงานวิจัยเชิงทดลอง และนําเสนอตัวอย่างการวิเคราะห์และแปลผลแบบจําลอง ทั้งสองแบบที่นํามาประยุกต์ใช้ทดแทนการวิเคราะห์สถิติหลายตัวแปรแบบดั้งเดมิ | |
ผู้จัดทำ : | มติ ทาเจริญศักดิ์ | |
หมวดหลัก : | สถิติ[1] | |
หมวดย่อย : | เชิงปริมาณ[1] | |
Keywords : | วิจัยเชิงทดลอง, การวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้าง | |
สัญลักษณ์ ![]() | ||